ข้ามไปเนื้อหา

สปริง 26

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นาว 26)
สปริง 26
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ
คำขวัญมากกว่าทีวี มีดีกว่าใคร
สำนักงานใหญ่สำนักงาน
อาคารอินเตอร์ลิงก์ ทาวเวอร์ เลขที่ 44 หมู่ 10
ถนนเทพรัตน กิโลเมตรที่ 4.5
แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
ส่วนปฏิบัติการ
อาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 11 ซอยวิภาวดีรังสิต 9 (เฉยพ่วง) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท สปริง 26 จำกัด
ช่องรองเนชั่นทีวี
สปริงนิวส์
ประวัติ
เริ่มออกอากาศเปิดตัว 9 กันยายน พ.ศ. 2555 (12 ปี)
(ในชื่อ กรุงเทพธุรกิจทีวี)
ยุติออกอากาศยกเลิกออกอากาศ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562
(6 ปี 340 วัน) [1]
ชื่อเดิมกรุงเทพธุรกิจทีวี (9 ก.ย. 2555 - 1 เม.ย. 2557)
นาว 26 (2 เม.ย. 2557 - 28 ก.พ. 2562)
ลิงก์
เว็บไซต์www.now26.tv
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 26 (มักซ์#5 : ททบ.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 26
ทีวีดาวเทียม
ทรูวิชั่นส์ช่อง 26

สปริง 26 (อังกฤษ: Spring 26) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในอดีต ในหมวดสาระทั่วไป ดำเนินการโดย บริษัท สปริง 26 จำกัด ในเครือเนชั่น

สปริง 26 เริ่มออกอากาศผ่านโครงข่ายดาวเทียม ชื่อช่อง กรุงเทพธุรกิจทีวี ในปี 2555 จากนั้นประมูลทีวีดิจิทัลมาด้วยราคา 2,200 ล้านบาท ออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 ในชื่อช่อง นาว 26 (อังกฤษ: NOW 26) หลังจากนั้น กลุ่มทุนใหม่ นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น ได้เข้ามาบริหารเครือเนชั่นในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และเปลี่ยนชื่อช่องมาเป็น สปริง 26 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562

สปริง 26 ได้ยุติการออกอากาศอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล[2][3] ตลอด 5 ปี ของการออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 1,188 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.175 ในปี 2561 และต่ำสุด 0.026 ปี 2558[4]

ประวัติ

[แก้]

สปริง 26 เริ่มออกอากาศครั้งแรกบนระบบดาวเทียมในชื่อกรุงเทพธุรกิจทีวีเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่นำเสนอรายการข่าวสาร โดยเอกลักษณ์ของช่องเมื่อครั้งแรกก่อตั้งคือ ข่าวเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน หลังจากนั้นได้เข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในนามของบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด และได้เริ่มทำการทดลองออกอากาศในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 ในชื่อช่อง นาว 26 (อังกฤษ: NOW 26) ซึ่งเป็นการออกอากาศต่อจากกรุงเทพธุรกิจทีวี

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ที่ดำเนินการออกอากาศช่องนาว 26 ได้ประกาศการขายสินทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และเพื่อรับมือกับผลกระทบจากภาวะของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์และธุรกิจสื่อ ซึ่งรวมถึงช่องนาว 26[5]

การเปลี่ยนอัตลักษณ์เป็นสปริง 26

[แก้]

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ช่อง NOW 26 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท สปริง 26 จำกัด และได้มีการเปลี่ยนชื่อช่องใหม่เป็น สปริง 26 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 0.00 น.[6]

การขอคืนใบอนุญาต

[แก้]

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จากัด (มหาชน) ได้ส่งหนังสือแจ้งกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[7] ว่าคณะกรรมการของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทสปริง 26 จำกัด มีมติให้บริษัทสปริง 26 จำกัด แจ้งความประสงค์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อขอคืนใบอนุญาตออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลภายในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ระบุเหตุผลว่า

เนื่องจากการตัดสินใจเชิงนโยบายของอดีตผู้บริหารของบริษัทฯ เมื่อปี 2557 ในการเข้าประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนำเสนอรายการสารคดี ซีรีส์ภาพยนตร์ต่างประเทศ รายการกีฬา และรายการประเภทวาไรตี้ ทั้งที่บริษัทฯ ไม่มีความชำนาญในการจัดการด้านเนื้อหาประเภทดังกล่าว โดยสปริงมีผลประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดนับตั้งแต่ชนะประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล คือตั้งแต่ปี 2557-2561[2]

หลังจากที่มีการแจ้งความประสงค์เพื่อขอคืนใบอนุญาตแล้ว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะอนุกรรมการเยียวยาฯ เพื่อพิจารณาเรื่องแผนเยียวยาผู้บริโภคและการเยียวยาพนักงานของช่องสปริง 26 และสปริงนิวส์ มีมติให้ช่องสปริง 26 ยุติการออกอากาศในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562[3]

การยุติการออกอากาศ

[แก้]

สปริง 26 ได้ยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 24.00 น. โดยก่อนการยุติการออกอากาศ ได้ออกอากาศสปอตแจ้งการยุติการออกอากาศและการเปลี่ยนช่องทางการเผยแพร่เนื้อหาไปยังช่องทางออนไลน์ และได้ออกอากาศอัตลักษณ์ของสถานีก่อนการตัดสัญญาณเป็นภาพทดสอบ ซึ่งได้ยุติการออกอากาศพร้อมกับสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์และไบรต์ทีวี[8]

ในช่วงเช้ามืดของวันเดียวกัน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายและส่งสัญญาณของช่องสปริง 26 ได้นำสัญญาณของช่องสปริง 26 ออกจากโทรทัศน์ดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน ซึ่งส่งผลให้ช่องสปริง 26 จอดำอย่างเป็นทางการ และช่องสปริง 26 จะหายไปจากผังช่องรายการเมื่อมีการค้นหาช่องใหม่สำหรับผู้ชมที่รับชมผ่านทางสายอากาศ[9]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต

[แก้]
  • สโรชา พรอุดมศักดิ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • เชาวรัตน์ ยงจิระนนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • ปรัชญา อรเอก (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ทัศนียา รัตน์วงศ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • องค์กช วรรณภักตร์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
  • ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ขจรชัย เพชรัตน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • วรินท์มาศ ปัญญาดี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ชุติมา จิรทรัพย์อนันต์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • อติชาติ วงศ์วุฒิวัฒน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • พลวัชร ภู่พิพัฒน์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • เจษฎา ศาลาทอง (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุมิติข่าว 90.5)
  • ปวัน สิริอิสสระนันท์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • ชญาณ์ทิพย์ โลจนะโกสินทร์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • ยศภาคย์ เรืองไพศาล (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • ทิพย์ รุ่งสิริเมธากุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • วิไล เจียรรุ่งแสง (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • สิริไพศาล แสงไทยทวีบุญ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • กานต์ สุริยะฉันทนานนท์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • กวิน ศุภกฤตกุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • ธนรัชต์ คูสมบัติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • วัชราทิตย์ เกษศรี (ปัจจุบันอยู่ Reporter Journey)
  • อิทธิพัทธ์ ปิ่นระโรจน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • ศุภวรรณ โต๋ห์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • สลิตา พรรณลึก (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • สุชาดา นิ่มนวล (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
  • ตระการ พันธุมเลิศรุจี (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • ธวัลรัตน์ เด่นเลิศชัยกุล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • มัทนิน มณีขาว (ชื่อเดิม: ธนิกานต์) (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • พิมพ์พนิต โชติสวัสดิ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
  • รมย์รัมภา เริ่มรู้ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • อาชวินท์ สุขศรี (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
  • รังสิมา ศฤงคารนฤมิตร (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
  • ปริญญา เปล่งเสียง (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • อาทิชา พึ่งสมศักดิ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • ผกามาศ สหดิฎฐกุล (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.0 ZaabNews)
  • พัชระ สารพิมพา (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี และจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.0 ZaabNews)
  • ประชาไท ธนณรงค์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • เจษฏ์ ประเสริฐรุ่งเรือง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ปิยวรรณ ประเมษฐะวนิช (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • วุฒินันท์ นาฮิม (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
  • รุ่งโรจน์ ลุ้ยประเสริฐ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • สมสกุล ชมชื่น (ปัจจุบันอยู่NBT North)
  • ชนุตรา เพชรมูล (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
  • ศตคุณ ตันทวีวิวัฒน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • วิลาสินี แวน ฮาเรน (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
  • ภัทรพล นิธิวรพล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
  • อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
  • ประจักษ์ มะวงษ์สา (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • กาญจนา นิตย์เมธา (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
  • ระวี ตะวันธรงค์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
  • ชัยรัตน์ ถมยา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
  • ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ยามเฝ้าจอ (12 สิงหาคม 2562). "นับถอยหลังอีก 3 วัน! ทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ #SpringNews #BrightTV และ #Spring26 ถึงเวลาต้องโบกมือลาผู้ชมแล้ว ในเวลา 23:59 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2562 (5 ทุ่มของวันที่ 15 ต่อเที่ยงคืนวันที่ 16)". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "การอนุมัติในหลักการเพื่อขอคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ชื่อช่องรายการ SPRING 26". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  3. 3.0 3.1 สปริงออนไลน์ (10 มิถุนายน 2562). "ช่อง Spring 26 – Spring News 19 จอดำ 15 ส.ค.นี้". springnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ปิดฉาก "7 ช่อง" ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี "เรตติ้ง" ดิ่ง ขาดทุนอ่วม". โพซิชันนิงแมก. 15 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. ข่าวไทยพีบีเอส (20 ธันวาคม 2560). ""เนชั่น" ขายช่อง NOW ม.เนชั่น บ.ขนส่ง มูลค่า 1.4 พันล้านบาท". news.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ผู้จัดการออนไลน์ (25 กุมภาพันธ์ 2562). "พลิกวงการทีวีดิจิทัล "NOW 26" เปลี่ยนชื่อเป็น "SPRING 26"". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Jenpasit (10 พฤษภาคม 2562). "คืนทีวีดิจิทัล Spring 26 อีกช่อง! เตรียมดันช่อง Nation 22 อย่างเดียว". thumbsup.in.th. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ยามเฝ้าจอ (15 สิงหาคม 2562). "นับถอยหลังทีวีดิจิทัลยุติออกอากาศ 3 ช่องแรก Springnews19 BrightTV20 และ Spring26". facebook.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. JohnNatadee (16 สิงหาคม 2562). "Mux 5 ของ ททบ.5 นำช่อง 20 และ 26 ออกไปแล้ว". twitter.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]